Custom Search
หน้าแรก เกี่ยวกับเว็บไซต์ ข่าวกิจกรรม (+) คู่มือเด็กคอมฯ ประวัติมหาวิทยาลัยฯ ทำเนียบรุ่นศิษย์เก่า รูปภาพเพื่อนๆ สมุดเยี่ยมชมเว็บไซต์




ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
Computer Science, Rajabhat Rajanagarindra University Alumni.

ทักทาย: " ตอนนี้เพื่อนๆ คงสบายดีกันทุกๆ คนนะ :) ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นแล้ว รักษาสุขภาพกันด้วยนะ เดี๋ยวจะไม่สบายกัน
สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังเรียนต่อกันอยู่ ก็คงใกล้จบกันแล้ว ก็ขอเอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จเร็วๆ จ้า (อย่าลืมหาเวลาผักผ่อนด้วยนะจ๊ะ)
สุดท้ายนี้ ถ้ามีข่าวแจ้งกับเพื่อนๆ ผ่านทางเว็บนี้ก็อีเมล์ไปที่นี่ได้จ้า prayut_14@hotmail.com :) "

  • งานแต่งงานพงษ์เทพ(มู) 4 มีนาคม 2555 นี้นะครับ - ขออัพเดตเว็บไซต์สักหน่อยนะครับ พักหลังไม่ค่อยได้ลงอัพเดตข่าวเพื่อนๆ กันสักเท่าไหร่ อิอิ ก็ไม่ค่อยมีเรื่องนำมาเขียนอะนะ มาคร่าวนี้ขอแจ้งข่าวงานแต่งงานของ...
    12 years ago
เว็บไซต์วิทยาการคอมพิวเตอร์ฯ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - เพื่อนๆ แวะทักทาย/แจ้งข่าว คลิกที่นี่เลยจ้า! - รับข่าวทางอีเมล์

Friday, May 16, 2008

เลเซอร์เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อ 48 ปีที่แล้ว

เลเซอร์ (laser) ย่อมาจากคำว่า Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation ในทางฟิสิกส์ คือ อุปกรณ์ที่ให้กำเนิดลำแสง ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่รวมกันระหว่างกลศาสตร์ควอนตัมกับอุณหพลศาสตร์ ซึ่งพลังงานแสงเลเซอร์ สามารถมีคุณสมบัติได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการออกแบบ เลเซอร์ส่วนมากจะเป็นลำแสงที่มีขนาดเล็ก มีการเบี่ยงเบนน้อย (low-divergence beam) และสามารถระบุความยาวคลื่นได้ง่าย โดยดูจากสีของเลเซอร์ ถ้าอยู่ในสเป็กตรัมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (visible spectrum) ซึ่งเลเซอร์นี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นการรวมพลังงานแสงที่ส่งออกมาจากหลายความยาวคลื่นเข้าด้วยกัน

เลเซอร์ จะหมายรวมไปถึงการให้พลังงานผ่านทางสื่อนำแสง ซึ่งสื่อนำแสงอาจเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ หรืออิเล็กตรอนอิสระที่มีคุณสมบัติสามารถนำแสงได้ ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด ออบติคอล คาวิตี้ (Optical cavity) จะประกอบไปด้วยกระจก 2 อัน ที่จะจัดเรียงแสงเข้าด้วยกันครั้งแล้วครั้งเล่า โดยที่แต่ละครั้งจะผ่านสื่อนำแสง โดนหนึ่งในกระจกนั้น (Output coupler) จะส่งลำแสงออกมา

ลำแสงเลเซอร์ ที่ผ่านทางสื่อนำแสงจะมีความยาวคลื่นเฉพาะ และมีพลังงานเพิ่ม ซึ่งกระจกนี้จะพยายามทำให้แสงส่วนมาก สามารถผ่านทางสื่อนำแสงให้ได้ และออกมาเป็นลำแสงเลเซอร์ กระบวนการเหนี่ยวนำลำแสงเพื่อเพิ่มพลังงานนี้ จะใช้พลังงานไฟฟ้าหรือแแสงในหลายความยาวคลื่น ซึ่งในการทดลองแต่ละครั้ง ความยาวคลื่นของแสงในแต่ละความยาวคลื่น จะส่งผลโดยตรงต่อคุณสมบัติ รูปร่าง และความยาวคลื่นของลำแสงเลเซอร์ที่สร้างออกมา

การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเลเซอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 1960 โดย ทีโอดอร์ ไมแมน (Theodore Maiman) ที่สถาบันวิจัย ฮิวจ์ (Hughes Research Laboratories) ทุกวันนี้เลเซอร์กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลายพันล้านดอนล่าร์ ผลผลิตจากงานวิจัยเลเซอร์ และกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย มีให้เห็นอย่างเช่น แผ่นดีวีดี แผ่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องอ่านบาร์โค้ด อุปกรณ์ตัดโลหะด้วยเลเซอร์ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเลเซอร์มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ หรือแม้กระทั่งด้านการทหาร ก็เพราะว่าเลเซอร์สามารถควบคุมความยาวคลื่นตามที่ต้องการได้


แหล่งข้อมูล:


No comments:

Post a Comment