Custom Search
หน้าแรก เกี่ยวกับเว็บไซต์ ข่าวกิจกรรม (+) คู่มือเด็กคอมฯ ประวัติมหาวิทยาลัยฯ ทำเนียบรุ่นศิษย์เก่า รูปภาพเพื่อนๆ สมุดเยี่ยมชมเว็บไซต์




ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
Computer Science, Rajabhat Rajanagarindra University Alumni.

ทักทาย: " ตอนนี้เพื่อนๆ คงสบายดีกันทุกๆ คนนะ :) ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นแล้ว รักษาสุขภาพกันด้วยนะ เดี๋ยวจะไม่สบายกัน
สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังเรียนต่อกันอยู่ ก็คงใกล้จบกันแล้ว ก็ขอเอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จเร็วๆ จ้า (อย่าลืมหาเวลาผักผ่อนด้วยนะจ๊ะ)
สุดท้ายนี้ ถ้ามีข่าวแจ้งกับเพื่อนๆ ผ่านทางเว็บนี้ก็อีเมล์ไปที่นี่ได้จ้า prayut_14@hotmail.com :) "

  • งานแต่งงานพงษ์เทพ(มู) 4 มีนาคม 2555 นี้นะครับ - ขออัพเดตเว็บไซต์สักหน่อยนะครับ พักหลังไม่ค่อยได้ลงอัพเดตข่าวเพื่อนๆ กันสักเท่าไหร่ อิอิ ก็ไม่ค่อยมีเรื่องนำมาเขียนอะนะ มาคร่าวนี้ขอแจ้งข่าวงานแต่งงานของ...
    12 years ago
เว็บไซต์วิทยาการคอมพิวเตอร์ฯ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - เพื่อนๆ แวะทักทาย/แจ้งข่าว คลิกที่นี่เลยจ้า! - รับข่าวทางอีเมล์

Thursday, May 8, 2008

ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์


คติธรรมประจำสถาบัน : สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ - "พึงศึกษาในสิ่งที่ควรศึกษา"
สีประจำสถาบัน : เขียว - เหลือง
ดอกไม้ประจำสถาบัน : ดอกสารภี

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 422 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา บนเนื้อที่ 43 ไร่เศษ ห่างจากฝั่งแม่น้ำ "บางปะกง" ประมาณ 150 เมตร อยู่ใกล้กับ "ค่ายศรีโสธร" อันเป็นที่ตั้งของกองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ และวัดโสธรวรารามวรวิหาร พระอารามหลวง สถานที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อพุทธโสธร ทั้งนี้ไม่รวมส่วนที่เป็นบ้านพักอาจารย์อีกประมาณ 17 ไร่ อันได้จากการบริจาคและจัดซื้อเพิ่มเติม ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 40 ถนนศรีโสธรตัดใหม่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมชาย ต่อมาเมื่อโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมชายย้ายไปตั้งใหม่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ทางราชการได้ปรับปรุงโดยการขยายสถานที่เดิมให้กว้างขวางขึ้น โดยขอใช้ที่ดินจากทางการทหารและจัดซื้อเพิ่มเติม จัดสร้างหอนอนและเรือนพักครูแล้วย้ายนักเรียนสตรีแผนกฝึกหัดครูซึ่งเรียนรวมอยู่กับนักเรียนสตรีประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา"ดัดดรุณี" มาเรียนแทนในปี พ.ศ. 2483 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า"โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด" เปิดสอนหลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู ว.) จึงถือได้ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ได้ถือกำเนิดในปี พ.ศ. 2483 จากนั้นก็ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ กล่าวคือ


  • พ.ศ. 2485 ได้เปิดสอนหลักสูตรครูประชาบาล (ป.ป.) และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา" ต่อมาได้ตัดหลักสูตรครูประชาบาล และหลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัดออกปีละชั้นจนหมดในปี พ.ศ. 2491 และ พ.ศ. 2495 ตามลำดับ


  • พ.ศ. 2493 เปิดสอนหลักสูตรครูมูล และในปี พ.ศ. 2494 เปิดสอนหลักสูตรฝึกหัดครูประถม (ป.ป.) ซึ่งเป็นการเปิดสอนนักเรียนฝึกหัดครู ป.ป. หญิงเป็นครั้งแรกในส่วนภูมิภาคของไทย ในระยะนี้เองที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นสถานที่ทดลองปรับปรุงส่งเสริมการศึกษา โดยความร่วมมือขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ได้แก่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การบริหารความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งอนามัยโลก (WHO) องค์การบริหารความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USOM) มีชาวต่างประเทศเข้ามาดำเนินงานในโครงการนี้จากหลายชาติ คือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ออสเตรเลีย นิวซีแลนต์ แคนาดา อินเดีย ศรีลังกา และญี่ปุ่น ในการนี้ทางโรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทราได้ให้ความร่วมมือกับโครงการ โดยจัดสถานที่ไว้ส่วนหนึ่งสำหรับให้โรงเรียนต่าง ๆ ใช้เป็นสถานที่ประชุม การสาธิตการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและประเทศต่างๆ


  • พ.ศ. 2498 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร โดยใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) แทนหลักสูตร ป.ป. โดยรับนักเรียนชายเข้าเรียนด้วย จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา เป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา" สังกัดกรมการฝึกหัดครู ซึ่งตั้งขึ้นในปีนี้เอง ในช่วงถัดมาโรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทราได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งด้านอาคารสถานที่และด้านการเรียนการสอน โดยได้รับการช่วยเหลือจากองค์การปรับปรุงส่งเสริมการศึกษาและองค์การ ยูนิเซฟ (UNICEF) และได้มีโครงการฝึกหัดครูชนบทขึ้นในระยะนี้ด้วย


  • ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 โรงเรียนฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา ได้รับการสถาปนาเป็น "วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา" เปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ทั้ง ภาคปกติและภาคค่ำ (Twilight) ในด้านอาคารสถานที่ได้มีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กแทนอาคารเรียนไม้ที่มีอยู่แต่เดิม และมีอาคารอื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ


  • พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จึงได้รับการยกฐานะตามพระราชบัญญัติให้สามารถผลิตครูได้ถึงระดับปริญญาตรี และให้มีภารกิจอื่น ๆ คือ วิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมวิทยฐานะครูและอบรมครูประจำการ จึงได้มีโครงการอบรมครูประจำการ (อ.คป.) ขึ้น โดยได้เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนถึง พ.ศ. 2530


  • ในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) ให้อำนาจวิทยาลัยครูเปิดสอนสาขาวิชาต่าง ๆ ถึงระดับปริญญาตรี วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จึงเปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาการศึกษา (ค.บ.) สาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) ทั้งนักศึกษาภาคปกติและนักศึกษาตามโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ในวันเสาร์ – อาทิตย์


  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูทั่วประเทศได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูว่า "สถาบันราชภัฏ" ซึ่งเมื่อพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา" โดยสมบูรณ์


  • ในปี พ.ศ. 2536 คณะผู้บริหารสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ภายใต้การบริหารงานของอธิการบดี รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน ได้ดำเนินการขอใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์บริเวณหนองกระเดือย หมู่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ส่วนขยายของสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา โดยดำเนินการประสานงานกับบุคคลสำคัญของท้องถิ่น ผู้เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อาทิ สภาตำบลหัวไทร ทางการอำเภอบางคล้า ทางการจังหวัดฉะเชิงเทรา กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น จนได้รับการอนุมัติให้ใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ศูนย์บางคล้า ตามหนังสือที่ มท 0618 / 11964 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539


  • ในปี พ.ศ. 2541 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทานนามสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทราว่า “สถาบันราชภัฏราชนครินทร์” สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมายตามความในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 72 ก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2541 สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏราชนครินทร์


  • วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช ๒๕๔๗ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๒๓ ก. สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ จึงได้เปลี่ยนสถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์” ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นมา


ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (พ.ศ.2498-2547)
ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2498-ปัจจุบัน)

สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัย เป็นรูปพระราชลัญจกรประจําพระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออก ในรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ และรอบนอกด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ " ด้านล้างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า "RAJABHAT RAJANAGARINDRA UNIVERSITY " สีของสัญลักษณ์ ประกอบด้วย 5 สี ดังนี้

  • สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กําเนิดและพระราชทานนาม "มหาวิทยาลัยราชภัฏ"
  • สีเขียว หมายถึง แหล่งที่ตั้งของสถาบัน 41 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม
  • สีเหลือง หมายถึง ความรุ่งเรืองทางปัญญา
  • สีส้ม หมายถึง ความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นก้าวไกลใน 41 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • สีขาว หมายถึง ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ


หัวเข็มขัดและตราสัญลักษณ์ติดเนคไท
หัวเข็มขัดและตราสัญลักษณ์ติดเนคไท
(แบบเก่า ซึ่งเป็นชื่อของสถาบันก่อนหน้านี้)



ดอกสารภี จาก http://doksarapee.multiply.com/photos/album/24ดอกสารภี

No comments:

Post a Comment