ประโยชน์ของการสร้าง share โฟลเดอร์ก็เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
สามารถเข้ามาใช้งานไฟล์ในเครื่องที่ share ไว้ผ่านเครือข่าย network
ได้อย่างสะดวกซึ่งอาจจะสร้างเป็น files server เป็นต้น
แบบที่ 1: การสร้าง share โฟลเดอร์ในวินโดว์ XP Pro แบบเบื้องต้น มีขั้นตอนดังนี้
- ไปยังชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการ share แล้วคลิกเม้าส์ปุ่มขวาที่ชื่อโฟลเดอร์ (ตัวอย่างในรูปชื่อโฟลเดอร์คือ share_data) จะปรากฏ popup เมนูขึ้นมา ให้คลิกเลือกเมนู Sharing and Security...
- จะปรากฏหน้าต่าง Properties ขึ้นมาให้คลิกเลือกที่แท็บ Sharing
- ไปยังหัวข้อ Network sharing and security คลิกเลือกที่ลิงก์ If you understand the security risks but want to share files without running the wizard, click here. (บางกรณีจะไม่พบหัวข้อนี้ แต่จะข้ามไปข้อ 5 เลย)
- คลิกเลือกตัวเลือกที่ 2 (เพื่อความรวดเร็ว)
- จะกลับมาที่หน้าต่าง properties อีกครั้ง ที่แท็บ Sharing ในหัวข้อ Network sharing and security ให้คลิกที่ช่อง [ ] Share this folder on the network และใส่ชื่อ share name ที่ต้องการ
โดยปกติค่าเริ่มต้นที่จะเป็นชื่อโฟลเดอร์ที่แชร์ แต่เราสามารถเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นได้ตามต้องการ
ถ้าหากต้องการกำหนดให้เป็น share แบบซ่อนให้ใส่ $ ตามหลังชื่อ Share name ซึ่งจะไม่แสดงให้เห็นเมื่อ browse ไฟล์ผ่าน network จะต้องพิมพ์ชื่อ share nameที่ตั้งไว้และตามด้วย $ เองจ้า - หากต้องการให้ผู้อื่นสามารถ แก้ไข/ลบ/สร้างไฟล์ ผ่าน network ได้ ให้คลิกเลือกที่ช่อง [ ] Allow network users to change my files (ถ้าไม่เลือกจะเป็นการ share แบบอ่านได้อย่างเดียว)
- คลิกที่ปุ่ม Apply และคลิกที่ปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้าง share โฟลเดอร์แล้วละครับ โดยสังเกตโฟลเดอร์ที่ share ไว้โดยทั่วไปจะมีรูปไอคอนแบบนี้
สำหรับการสร้าง share แบบแรกนี้สำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็ง่ายดีครับ แต่จะเห็นว่าการ share แบบนี้ต้องขอบอกก่อนว่าเป็นการ share ให้ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้เหมือนกัน จะไม่สามารถกำหนดแยก user name ว่าจะให้ใครใช้งานได้บ้าง หรือใครสามารถแก้ไขข้อมูลได้ และจะไม่มีการถาม username และ password ก่อนเข้าใช้งานครับ
หากต้องการ share แบบที่สามารถกำหนดสิทธิ์การใช้งาน(permission) ที่ละเอียดขึ้น ก็สามารถทำได้ครับ (จริงๆ ทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ซ่อนไว้แค่นั้นเอง ) ถ้าอย่างงั้นมาลองสร้าง share แบบที่กำหนดสิทธิ์ได้มากขึ้นกันครับ มายากครับ ทำตามนี้เลย
แบบที่ 2 : การสร้าง share โฟลเดอร์แบบกำหนดสิทธิ์และผู้ใช้งานได้ มีขั้นตอนดังนี้
- เปิดหน้าต่าง Folder Options (ไปที่โปรแกรม Windows Explorer คลิกที่เมนู Tools -> Folder Options... หรือคลิกที่ปุ่ม start -> Run... พิมพ์คำสั่ง control folders แล้วกดปุ่ม enter)
- จะปรากฏหน้าต่าง Folder Options ขึ้นมาให้คลิกที่แท็บ View
- ในหัวข้อ Advanced settings: ให้ไปยังคลิกยกเลิกเครื่องหมายถูกออกจากช่อง [ ] Use simple file sharing (Recommended) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Apply และคลิกที่ปุ่ม OK
- ไปยังชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการ share แล้วคลิกเม้าส์ปุ่มขวาที่ชื่อโฟลเดอร์ (ตัวอย่างในรูปชื่อโฟลเดอร์คือ share_data) จะปรากฏ popup เมนูขึ้นมา ให้คลิกเลือกเมนู Sharing and Security...
- จะปรากฏหน้าต่าง Properties ขึ้นมาให้คลิกเลือกที่แท็บ Sharing (จะเห็นว่าหน้าตาจะแตกต่างจากแบบที่ 1)
- คลิกเลือกที่ Share this folder จากนั้นใส่ชื่อ Share name ที่ต้องการ (อาจจะใส่ข้อความ comment และกำหนด User limit คือจำนวนผู้ใช้งานที่สามารถเข้าใช้งานได้พร้อมกัน ถ้าจำไม่ผิด windows xp จะยอมให้เข้าใช้งานผ่าน network ได้พร้อมกันสูงสุด 10 users)
- กำหนดชื่อผู้ใช้(User) หรือกลุ่ม(Groups) และสิทธิ์ที่สามารถใช้งานได้ ให้คลิกที่ปุ่ม Permissions
- จะปรากฏหน้าต่าง Permissions ขึ้นมา โดยค่าเริ่มต้นจะมี Everyone คือทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้โดยมี permissions แบบ read เท่านั้น (อ่านได้ย่างเดียวแก้ไขไม่ได้)
- คลิกที่ปุ่ม Add... เพื่อเลือกกลุ่มหรือชื่อผู้ใช้(Group or user names) จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมาให้คลิกที่ปุ่ม Advanced...
- คลิกที่ปุ่ม Find Now จากนั้นคลิกเลือกกลุ่มหรือชื่อผู้ใช้ที่ต้องการ และคลิกที่ปุ่ม OK
* สามารถกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้และคลิกเลือกหลายๆ รายชื่อที่ต้องการได้ - จะกลับมายังหน้าต่างแสดงรายชื่อที่เลือกไว้ เมื่อได้รายชื่อที่ต้องการครบแล้วให้คลิกที่ปุ่ม OK
- เมื่อได้รายชื่อหรือกลุ่มที่ต้องการแล้ว ก็มากำหนดสิทธิ์การใช้งาน(Permission) ให้แต่ละกลุ่มหรือผู้ใช้ตามต้องการ
- เมื่อกำหนดสิทธิ์เสร็จเรียบร้อยแล้วก็คลิกที่ปุ่ม Apply และคลิกที่ปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้าง share โฟลเดอร์แล้วละครับ โดยสังเกตโฟลเดอร์ที่ share ไว้โดยทั่วไปจะมีรูปไอคอนแบบนี้
* สำหรับความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล Groups และ Users ในวินโดว์ XP ก็ลองไปศึกษาเพิ่มเติมนะครับ ในอินเตอร์เน็ตมีข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้ศึกษาอยู่แล้วครับ ลอง search ดูครับ :)
No comments:
Post a Comment