Custom Search
หน้าแรก เกี่ยวกับเว็บไซต์ ข่าวกิจกรรม (+) คู่มือเด็กคอมฯ ประวัติมหาวิทยาลัยฯ ทำเนียบรุ่นศิษย์เก่า รูปภาพเพื่อนๆ สมุดเยี่ยมชมเว็บไซต์




ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
Computer Science, Rajabhat Rajanagarindra University Alumni.

ทักทาย: " ตอนนี้เพื่อนๆ คงสบายดีกันทุกๆ คนนะ :) ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นแล้ว รักษาสุขภาพกันด้วยนะ เดี๋ยวจะไม่สบายกัน
สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังเรียนต่อกันอยู่ ก็คงใกล้จบกันแล้ว ก็ขอเอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จเร็วๆ จ้า (อย่าลืมหาเวลาผักผ่อนด้วยนะจ๊ะ)
สุดท้ายนี้ ถ้ามีข่าวแจ้งกับเพื่อนๆ ผ่านทางเว็บนี้ก็อีเมล์ไปที่นี่ได้จ้า prayut_14@hotmail.com :) "

  • งานแต่งงานพงษ์เทพ(มู) 4 มีนาคม 2555 นี้นะครับ - ขออัพเดตเว็บไซต์สักหน่อยนะครับ พักหลังไม่ค่อยได้ลงอัพเดตข่าวเพื่อนๆ กันสักเท่าไหร่ อิอิ ก็ไม่ค่อยมีเรื่องนำมาเขียนอะนะ มาคร่าวนี้ขอแจ้งข่าวงานแต่งงานของ...
    12 years ago
เว็บไซต์วิทยาการคอมพิวเตอร์ฯ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - เพื่อนๆ แวะทักทาย/แจ้งข่าว คลิกที่นี่เลยจ้า! - รับข่าวทางอีเมล์

Thursday, October 9, 2008

แจ้งตือน! - 15 ตุลาคมนี้ โครงการป้องปรามการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เริ่มแล้ว

"หยุดใช้ซอฟแวร์เถื่อนก่อนที่จะสาย 15 ตุลาคม 51 นี้ เจอเป็นจับ ปรับเป็นแสน"

ไปเจอข้อความนี้จากเว็บไซต์ http://www.stop.in.th/ มา เลยต้องรีบมา แจ้งข่าวกันอีกครั้ง
ไม่รู้จะช้าไปหรือเปล่านะครับ เพื่อนๆ ที่รู้แล้วก็คงเตรียมตัวกันแล้ว แต่อยากจะมาเตือนกันอีกครั้ง เพื่อนๆ ที่ทำงานในองค์กรภาคธุรกิจที่อาจจะมีการใช้ซอฟแวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ แต่ถ้าถูกลิขสิทธิ์อยู่แล้วก็ขอชื่นชมครับ ทีนี้มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าเนื่องจากข่าวที่ไปอ่านเจอมา จากเว็บไซต์ และจากจดหมายแจ้งเตือนจาก กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (BSA) เกี่ยวกับเรื่องการใช้งานซอฟแวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ จึงทำให้ต้องมาตรวจสอบซอฟแวร์ในองค์กรกันใหม่อีกครั้งว่ามีการใช้งานโปรแกรมอะไรกันบ้างและมีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือเปล่า เพื่อจะได้จัดการให้ถูกต้อง

จากสถานะการณ์นี้ทำให้บางคนอาจจะต้องเริ่มไปใช้โปรแกรม Opensource กันบ้าง ซึ่งก็มีอยู่หลายโปรแกรมที่น่าสนใจครับ เอาไว้จะค่อยๆ รวบรวบข้อมูลมาฝากกันนะ ตอนนี้ก็ลอง search จากอินเทอร์เน็ตไปก่อนแล้วกัน


ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โครงการป้องปรามการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์” นำโดยกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและ เทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บก. ปศท.) ด้วยความสนับสนุนของ กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (BSA) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในกลุ่มผู้ใช้ประเภท องค์กร ธุรกิจ ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนและองค์กรธุรกิจต่างๆได้ตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ซึ่งก่อให้เกิด ความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ

โดยผู้บังคับใช้กฎหมายไทย หน่วยงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา และสมาคมผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ชั้นนำร่วมกันประกาศวันนี้ว่า ตำรวจจะดำเนินการจับกุมองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจังในวันที่ 16 ตุลาคมนี้

เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย อันเนื่องจากการที่บริษัทท่านอาจจะใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมาย ท่านสามารถติดต่อ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ที่ 0-2685-1220 หรือ info@stop.in.th


ข้อมูลเพิ่มเติมที่ควรรู้:

  1. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คืออะไร?
    การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือ การมีไว้ใช้ และ/หรือการแจกจ่ายทรัพย์สินที่มีลิขสิทธิ์ปกป้องโดยกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีหลายรูปแบบ อาทิ
    - ก็อปปี้โปรแกรมซอฟต์แวร์หลายชนิดต่างๆ ลงใน CD แผ่นเดียวแล้วนำมาขาย (Copying)
    - ติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ในเครื่องเพื่อนำมาขาย (Hard Disk Loading)
    - ลงโปรแกรมซอฟต์แวร์หลายๆ เครื่องในบริษัทเกินจำนวนสิทธิการใช้งานที่ได้รับมา (Corporate End-User Infringement)
    - หลอกขายซอฟต์แวร์ปลอมผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น ขายซอฟต์แวร์ถูกเกินจริง เปิดให้ ประมูลซอฟต์แวร์ สแปมเมล หรืออ้างว่าลดราคาเพื่อเคลียร์สินค้าเก่า (Internet Piracy)
  2. หากธุรกิจใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จะเกิดผลที่ตามมาคืออะไร?
    องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ จะเสี่ยงต่อผลกระทบทางกฏหมาย ทางการเงิน และทางเทคนิคซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์อาจจะขาดความสมบูรณ์ หรือทำให้ระบบเครือข่ายเสี่ยงต่อไวรัส หรือHacker นอกจากนี้ยังอาจต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน – 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 1 แสนบาท ถึง 8 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับตามกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537

  3. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในที่ทำงานโดยทั่วไปเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในที่ทำงานโดยทั่วไปเกิดจาก 3 สาเหตุ
    1. ลูกจ้างนำซอฟต์แวร์จากบ้านมาติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ที่ทำงาน
    2. ลูกจ้างดึงข้อมูลซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จากอินเตอร์เน็ต
    3. ลูกจ้างใช้งานซอฟต์แวร์ร่วมกัน

  4. นายจ้างจะต้องรับผิดชอบหรือไม่? ต่อกรณีที่ลูกจ้างลักลอบติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์โดยปราศจากการรับรู้ของนายจ้าง?
    ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537

  5. หากนายจ้างพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์สำนักงานของตน ควรทำอย่างไร?
    หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์สำนักงานให้ลบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวทันที และหากพบว่าจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวให้จัดซื้อซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์จากตัวแทนจำหน่ายของซอฟต์แวร์นั้นๆ
    หรือ นำเอาโปรแกรมประเภท Opensource มาใช้งานแทนก็ได้นะ ก็เป็นอีกทางเลือกครับ ก็แล้วแต่ความจำเป็นขององค์กร :)




การบริหารจัดการสินทรัพย์ทางด้านซอฟต์แวร์ (SAM) คืออะไร

SAM (Software Asset Management) หรือ
การบริหารจัดการสินทรัพย์ทางด้านซอฟต์แวร์ เป็นแนวคิดทางด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินที่เป็นซอฟต์แวร์ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งมีการนำเสนอแนวทางและกระบวนการในการบริหารจัดการซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลักดังนี้
  1. ตรวจสอบรายการซอฟต์แวร์องค์กรที่ติดตั้งใช้งานอยู่
  2. เปรียบเทียบจำนวนลิขสิทธิ์ที่มีกับจำนวนซอฟต์แวร์ที่ใช้งานจริง
  3. จัดทำแผนการบริหารจัดการซอฟต์แวร์เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร
  4. ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้



ลิงก์ข่าวที่เกี่ยวข้อง: